การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกแทนให้

1. ออกให้ตลอดไป

สูตรคำนวณ = จำนวนเงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย / (100 – อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

ตัวอย่าง จ่ายค่าบริการ จำนวน 20,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ภาษีออกให้ตลอดไปคำนวณ ดังนี้

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ตลอดไป = 20,000×3/(100-3) = 618.56 บาท

เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,000+618.56 = 20,681.56 บาท

เมื่อคูณอัตราภาษี 3% ก็จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,618.56×3% = 618.56 บาท

ภาษีที่ออกแทนให้ ผู้รับเงินค่าจ้างต้องถือรวมเป็นเงินได้ ดังนั้นในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ต้องกรอกเงินได้ 20,681.56 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 618.56 บาท

จำนวนเงินที่ผู้ให้บริการจะได้รับจริง = 20,618.56 – 618.568 = 20,000 บาท

 

2. ออกให้ครั้งเดียว สูตรคำนวณ = (จำนวนเงินได้ที่จ่าย + ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกให้ครั้งเดียว) x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

 

ต้องนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีปกติบวกกับจำนวนเงินได้ที่จ่าย แล้วนำผลรวมมาคูณอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีกครั้ง จึงจะเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกให้ครั้งเดียว

ตัวอย่าง จ่ายค่าบริการ จำนวน 20,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ภาษีออกให้ครั้งเดียวคำนวณ ดังนี้

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราปกติ = 20,000×3% = 600 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ครั้งเดียว = (20,000+600)x3% = 618 บาท

เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,000+600 = 20,600 บาท

เมื่อคูณอัตราภาษี 3% ก็จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,600×3% = 618 บาท

ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องกรอกเงินได้ = 20,600.00 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 618 บาท

จำนวนเงินที่ผู้ให้บริการจะได้รับจริง = 20,600 – 618 = 19,982 บาท

* กิจการออกภาษีให้ครั้งเดียว 600 บาท ส่วนอีก 18 บาท กิจการต้องหักจากผู้รับจ้าง