ทำไมถึงได้ภาษีคืน
การขอคืนภาษีถือเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่ผู้จ่ายภาษีพึงได้รับกรณีที่เข้าข่าย ซึ่งกระบวนการขั้นตอนการขอคืนภาษีหรือตรวจสอบสถานะภาษีก็มีเพียงไม่กี่ขั้นตอน และมีระยะเวลาดำเนินการไม่นาน หากวางแผนภาษีคำนวณภาษีแล้วทราบว่าเข้าข่ายได้ภาษีคืนก็ควรรีบดำเนินการเพื่อให้ได้เงินคืนไวและไม่ก่อปัญหาภายหลังด้วย
สำหรับผู้ที่มีสิทธิได้รับการคืนภาษีนั้นคือผู้ที่วางแผนภาษีคำนวณรายได้สุทธิแล้วปรากฎว่าไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษี เนื่องจากมีค่าลดหย่อนภาษีมากพอที่จะไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง
เอกสารประกอบการขอคืนภาษี
หลังจากวางแผนภาษี คำนวณภาษีและยื่นภาษีแล้ว จะทราบได้ทันทีว่าเข้าข่ายการได้รับภาษีคืนหรือไม่ และสามารถดำเนินการขอคืนภาษีได้ในวันถัดไปหลังจากยื่นภาษี ทั้งนี้ควรจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้พร้อมเพื่อสะดวกในการยื่นเรื่องขอคืนภาษี
สำหรับเอกสารที่ใช้ประกอบการขอคืนภาษี คือเอกสารรายการที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ มีดังนี้
- หนังสือรับรองเงินเดือนและการหักภาษี หรือใบทวิ 50 ที่บริษัทออกให้
- หลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย
- เอกสารการซื้อกองทุน LTF, RMF
- ประกันสังคม
- ใบรับรองเลี้ยงดู บิดา มารดา
- ใบรับรองชำระเบี้ยประกันชีวิตทั้งของตนเองและบิดามารดา
- ใบรับรองชำระเบี้ยประกันสุขภาพทั้งของตนเองและบิดามารดา
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
- กองทุนครูโรงเรียนเอกชน
- กองทุนการออมแห่งชาติ
- ใบสูติบัตรหรือเอกสารรับรองบุตร
- ทะเบียนสมรส
- ใบรับรองดอกเบี้ยกู้บ้าน / คอนโด
- ใบเสร็จอื่นๆ ที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ เช่น ใบอนุโมทนาบัตร เงินบริจาค ใบเสร็จซื้อสินค้าช่วงระหว่างวันที่กำหนด
ช่องทางการขอคืนภาษี
ปัจจุบันการยื่นขอคืนภาษีนั้นมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งยังสะดวกสบาย ประหยัดเวลามากกว่าเดิมด้วย หลังจากที่เราวางแผนภาษีแล้ว อาจมีที่ปรึกษาภาษีเพื่อให้การคำนวณภาษีออกมาถูกต้องแม่นยำที่สุด จากนั้นให้ดำเนินการขอคืนภาษี โดยมีช่องทางการขอคืนภาษี มีดังนี้
- ยื่นขอคืนภาษีด้วยตนเอง ณ กรมสรรพากร
หากยื่นขอคืนภาษีด้วยตนเอง ณ กรมสรรพากร จะต้องยื่นขอคืนภาษีระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ซึ่งใช้เวลานานกว่า
- ยื่นขอคืนภาษีออนไลน์
การยื่นขอคืนภาษีออนไลน์สามารถยื่นขอคืนได้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 9 เมษายน ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร epit.rd.go.th มีข้อดีคือสามารถแก้ไขข้องมูลต่าๆง ได้ทันที
- ยื่นขอคืนภาษีผ่านแอพพลิเคชั่น Rd smart tax
อีกช่องทางการยื่นขอคืนภาษีที่ง่ายและสะดวกก็คือการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Rd smart tax ทั้งระบบ IOS และ Androids มีข้อดีคือสามารถแก้ไขข้องมูลต่าๆง ได้ทันที
ขั้นตอนการขอคืนภาษี
- เตรียมเอกสารการลดหย่อนภาษีให้พร้อม
- ยื่นขอคืนภาษีด้วยตนเองที่กรมสรรพากร หรือผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร rd.go.th หรือผ่านทางแอพพลิเคชั่น Rd smart tax
- หมั่นตรวจสอบความคืบหน้า ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://rd.go.th ไปที่เมนู E-FILING เลือกเมนู “สอบถามการขอคืนภาษี” จากนั้นกรอกข้อมูลและรอรับผล ในกรณีนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีความผิดพลาดหรือหากกรมสรรพกรต้องการเอกสารเพิ่มเติมก็สามารถยื่นได้ทันเวลา
ช่องทางการรับภาษีคืน
1.รับภาษีคืนเป็นธนาณัติเช็ค, ทางไปรษณีย์ หรือการโอนเข้าบัญชีธนาคารโดยอาจใช้เวลารอประมาณ 30 วัน
- รับภาษีคืนผ่านพร้อมเพย์ เพียงสมัครบริการพร้อมเพย์ (Prompt Pay) แล้วผูกบัญชีธนาคารกับเลขบัตรประชาชน ซึ่งหากไม่มีข้อผิดพลาดหรือเอกสารไม่ครบ สารถรอรับเงินภาษีคืนได้ภาย 1 วัน
ช่องทางติดต่อกรณีมีปัญหาเรื่องการขอคืนภาษี
- สอบถามสถานะคืนภาษี
- เข้าไปที่เว็บไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th เลือกเมนู “E-FILING” เลือกเมนู “สอบถามข้อมูลการขอคืนภาษี”
- เข้าไปที่เว็บไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th เลือกเมนู “Contact US” เลือกเมนู “สอบถามปัญหา / ร้องเรียน (Contact Us)”
- ติตด่อศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (RD Call Center) : 1161
- ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามการยื่นแบบฯ
- สอบถามสถานะเอกสาร
- เข้าไปที่เว็บไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th เลือกเมนู “E-FILING” เลือกเมนู “ส่ง / ตรวจสอบการส่งเอกสารประกอบการคืนภาษี”
- เข้าไปที่เว็บไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th เลือกเมนู “ห้องข่าว” เลือกเมนู “ข่าวสารอื่นๆ” เลือกเมนู “ส่ง / ตรวจสอบการส่งเอกสารประกอบการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา”
- กรณีส่งเอกสารทางไปรษณีย์สามารถตรวจสอบได้จากใบตอบรับ หรือที่เว็บไซต์ Thailandpost.com
- สอบถามกรณีไม่ได้รับเช็คคืนเงินภาษี
ให้ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ตามที่ระบุไว้ในแบบ ภ.ง.ด.90/91 โดยใช้เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง คือ บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
หรือกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ให้เตรียม หนังสือมอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา
- สอบถามกรณีผู้ขอคืนเงินภาษียื่นแบบฯ มากกว่า 1 ฉบับ เพื่อทำรายการเพิ่มเติม
- กรณีได้รับเช็คฉบับแรกเป็นจำนวนเงินมากกว่า การยื่นแบบฯ ฉบับเพิ่มเติม ให้ผู้ขอคืนเงินภาษีนำเช็คฯ ส่งคืนให้แก่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏตามหนังสือแจ้งคืนเงินฯ และกรมสรรพากรจะพิจารณาคืนเงินภาษี ตามแบบฯ ที่ถูกต้องให้ต่อไป
- กรณีได้รับเช็คฉบับแรกเป็นจำนวนเงินน้อยกว่า การยื่นแบบฯฉบับเพิ่มเติม ผู้ขอคืนภาษีสามารถนำเช็คคืนเงินฉบับแรกเข้าบัญชีได้ทันที และ กรมสรรพากรจะจัดส่งเช็คคืนเงินภาษีในส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขอคืนภาษีต่อไป
- สอบถามกรณีเช็คคืนเงินภาษีชำรุด / สูญหาย หรือธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
ให้ติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ตามที่ระบุไว้ในแบบแสดงรายการ เพื่อยื่นคำร้องขอออกเช็คฉบับใหม่ โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
- หนังสือแจ้งความ กรณีผู้ขอคืนทำเช็คที่ได้รับสูญหาย
- หนังสือแจ้งเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล กรณีเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล
- หนังสือมอบอำนาจและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา
- สอบถามกรณีได้รับเช็คคืนเงินภาษี แต่ไม่มีบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือ เข้าบัญชีไม่ได้
- กรณีมีภูมิลำเนาตามแบบ ภ.ง.ด.90/91 ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้นำเช็คคืนเงินภาษีไปแลกเป็นเงินสดที่ สำนักบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร ชั้น 7 อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
(2) กรณีมีภูมิลำเนาตามแบบ ภ.ง.ด.90/91 ในต่างจังหวัด ให้นำเช็คคืนเงินภาษีไปแลกเป็นเงินสดที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานสรรพากรพื้นที่ของจังหวัดนั้นๆ
เอกสารที่ใช้ประกอบ มีดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางกรณีคนต่างด้าว พร้อมสำเนา
- หนังสือจัดตั้งคณะบุคคล กรณีคณะบุคคล
- หนังสือมอบอำนาจและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนา
จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการขอคืนภาษีและการได้ภาษีคืนนั้นไม่ยุ่งยาก แต่ที่สำคัญควรมีการวางแผนภาษีอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าได้คืนภาษีครบถ้วน ซึ่งการมีที่ปรึกษาภาษีก็ถือเป็นทางเลือกที่คนส่วนใหญ่นิยมกัน