เจอภาษีแพง ต้องทำอย่างไร

การจ่ายภาษีนั้นถือเป็นหน้าที่ของบุคคลหรือนิติบุคคลผู้มีรายได้เพื่อเพื่อนำไปสนับสนุนรัฐและกิจการต่างๆ ของรัฐ ซึ่งการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยนั้นมีวิธีการคำนวณภาษีแบบขั้นบันได อัตราภาษีก้าวหน้าตามเงินได้สุทธิ ดังนั้นหากมีรายได้มาก เงินได้สุทธิมาก็ต้องเสียภาษีมากขึ้นตามอัตราที่กฎหมายกำหนด หากไม่ต้องการให้ประสปปัญหาภาษีแพงการวางแผนภาษีก็ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ควรทำก่อนการจ่ายภาษี

อัตราภาษีจากเงินได้สุทธิบุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี ภาษีสูงสุด (บาท)
0-150,000 (แรก)  5%  ยกเว้น*
 150,001-300,000  5%  7,500
300,001-500,000  10%  20,000
500,001-750,000  15%  37,500
750,001-1,000,000  20%  50,000
1,000,001-2,000,000  25%  250,000
2,000,001- 5,000,000  30%  900,000
5,000,001 ขึ้นไป  35%

จากตารางอัตราภาษีจากเงินได้สุทธิบุคคลธรรมดาจะเห็นว่าผู้มีรายได้มากก็จะรับภาระเสียภาษีเยอะขึ้น ทางรัฐบาลจึงได้ปรับโครงสร้างการหักลดหย่อนภาษีเพื่อรองรับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และช่วยลดภาระการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประชาชนด้วย

ก่อนจะเจาะลึกถึงโครงสร้างการหักลดหย่อนภาษีที่รัฐบาลกำหนดขึ้นมาใหม่ในปี 2561 มาดูวิธีวางแผนภาษี คำนวณภาษีเบื้องต้นกันก่อน จากนั้นค่อยไปดูโครงสร้างการหักลดหย่อนภาษีที่รัฐบาลกำหนด

ศัพท์ที่ต้องรู้ก่อนการคำนวณภาษี

  1. เงินได้ หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่ได้ต่อปีภาษี (1 มกราคม – 30 ธันาวคมของปีนั้นๆ)
  2. เงินได้สุทธิ หมายถึง เงินได้ที่เกิดจากการนำ “เงินได้” – “ค่าใช้จ่าย” – “ค่าลดหย่อน”
  3. ค่าใช้จ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันคำนวณทั้งปี โดยให้คิดเป็น 50% ของเงินได้ทั้งหมด แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  4. ค่าลดหย่อน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่อยู่ในโครงสร้างการหักลดหย่อนภาษีที่รัฐบาลกำหนด
  5. เงินภาษี หมายถึง เงินที่ต้องจ่าย โดยคำนวณจาก “เงินได้สุทธิ” x “อัตราภาษีแบบขั้นบันได” (ตามตารางข้างต้น) = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
  6. วางแผนภาษี หมายถึง การรวบรวมข้อมูลเรื่องรายได้ ค่าใช้จ่ายที่ใช้หักภาษี ค่าลดหย่อนภาษี วิธีการคำนวณภาษี รวมถึงช่องทางการยื่นภาษี

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เมื่อมีการวางแผนภาษีแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ควรรู้ก็คือการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ให้ดูจากที่มาของรายได้และเงินภาษีที่จ่าย มี 2 แบบ ดังนี้

  1. คำนวณภาษีแบบขั้นบันได

คือการคำนวณภาษีจากเงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำนาญ บำเหน็จ เป็นต้น อัตราภาษีอยู่ที่ 5%-35% (ตามตารางข้างต้น)

“เงินได้สุทธิ” x “อัตราภาษีแบบขั้นบันได”  = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

  1. วิธีคำนวณภาษีแบบเหมา 0.5%

คือการคำนวณภาษีจากเงินได้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่ประเภทที่ 1 แต่จะใช้วิธีคำนวณประเภทนี้เมื่อมีรายได้ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. มีรายได้ทุกทาวรวมกัน ยกเว้นเงินเดือน เกิน 1,000,000 บาท
  2. เมื่อคำนวณภาษีแบบเหมา 0.5% แล้วได้เงินภาษีมากกว่าการคำนวณแบบขั้นบันได

เงินได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.5% = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

ตัวอย่างการคำนวณเงินภาษีเบื้องต้นกรณีคิดจากรายได้สุทธิ

นางสาวแนนเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง มีเงินได้สุทธิ 450,000 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ แล้ง 20,000 บาท ดังนั้นนางสาวแนนจะต้องเสียภาษีเพี่มเติมเป็นเงิน 2,500 บาท

มีวิธีการคำนวณภาษีแบบั้นบันได ดังต่อไปนี้

เงินได้สุทธิ 150,000    บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี                                                                      =         0 บาท
ส่วนที่เกิน   150,000 บาทแต่ไม่เกิน 300,000 ต้องเสียภาษี 5%   = 
150,000 ×0.05                =  7,500 บาทส่วนที่เกิน   300,000 บาทแต่ไม่เกิน 500,000 ต้องเสียภาษี 10%   =  150,000 ×0.10              =  15,000 บาท
ดังนั้น  นางสาวแนนต้องเสียภาษีเงินได้เป็นเงิน                                              =  22,500 บาท

                       หักภาษี ณ ที่จ่ายที่ชำระไว้แล้ว                                                                       =   20,000 บาท
ดังนั้น  นางสาวแนนต้องเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมอีก                                         =     2,500 บาท

 เมื่อภาษีแพงเราจะลดหย่อนภาษีจากทางไหนได้บ้าง??

เมื่อเราวางแผนภาษีแล้ว เข้าใจวิธีคำนวณภาษีเบื้องต้นแล้ว การเรียนรู้โครงสร้างการหักลดหย่อนภาษีที่รัฐบาลกำหนด เพื่อช่วยเหลือการจ่ายภาษีของประชาชนก็เป็นอีกเรื่องที่จำเป็นมาก หากเรามีที่ปรึกษภาษีก็จะช่วยให้การคำนวณภาษีง่ายขึ้น

สำหรับรายละเอียดการลดหย่อนภาษีตามโครงสร้างการหักลดหย่อนภาษี มีรายละเอียดังต่อไปนี้

ค่าลดหย่อนหมวดที่ 1 : ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ได้แก่

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบุตรไม่เกิน 3 คน คนละ 30,000 บาท
  • ค่าอุปการะบิดา – มารดา 60 ปีขึ้นไป ทั้งของตัวเอง และของคู่สมรสคนละ 30,000 บาท (รวมแล้วไม่เกิน 120,000 บาท)
  • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ บิดา – มารดา ไม่เกินคนละ 15,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ /บุคคลทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท

ค่าลดหย่อนหมวดที่ 2 : ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ได้แก่

  • ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวในประเทศตลอดปี (55 เมืองรอง) ไม่เกิน 15,000 บาท
  • การลงทุน ในธุรกิจ start up 100,000 บาท
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียม จากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต เพิ่ม 1 เท่า ของที่จ่ายจริง (เมื่อมีเงินได้จากค่าเช่า,ค่าวิชาชีพอิสระ,ค่ารับเหมา,เงินได้จากธุรกิจอื่นๆ)

ค่าลดหย่อนหมวดที่ 3 : ค่าลดหย่อนประกันชีวิตและการลงทุน

  • เบี้ยประกันชีวิตทัวไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต : ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ไม่เกิน 15,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ไม่เกิน 15,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 15% ของเงินได้พึงประกันไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินสะสม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาท

ค่าลดหย่อนหมวดที่ 4 : ค่าลดหย่อนภาษี เงินบริจาค

  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาและกีฬา 2 เท่า ของเงินที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
  • เงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ

ตัวอย่างการคำนวณเงินภาษีเบื้องต้นกรณีคิดจากรายได้ทั้งหมด

นายแมนมีรายได้ทั้งปี 600,000 บาท และมีค่าลดหย่อนอื่นๆ นายแมนจะต้องเสียภาษีเป็นเงินกี่บาท?

ขั้นตอนที่ 1 นำรายได้ทั้งหมดหักค่าใช้จ่ายเบื้องต้น 50% ของเงินได้ (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)

ดังนั้น นายแมนสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ = 100,000 บาท

จะเหลือรายได้สุทธิ 600,000 – 100,000 = 500,000 บาท

ขั้นตอนที่ 2 นำรายได้สุทธิที่เหลือมาหักค่าลดหย่อนต่างๆ

นายแมนมีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสแล้ว ซึ่งไม่มีรายได้ ไม่มีบุตร จ่ายประกันสังคมไป 9,000 บาท มีบิดาอายุ 65 ปี ซื้อ LTF ไป 50,000 บาท ดังนายแมนมีค่าลดหย่อนภาษี ดังนี้

– หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 60,000 บาท

– หักค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท

– หักค่าประกันสังคม 9,000 บาท

– หักค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดา 1 คน จำนวน 30,000 บาท

– หักค่าซื้อ LTF ไป 50,000 บาท

              รวมหักไป 209,000 บาท

จะเหลือรายได้สุทธิ500,000 – 209,000 =  291,000 บาท

ขั้นตอนที่ 3 คำนวณอัตราภาษีแบบขั้นบันได

เงินได้สุทธิ 150,000    บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี                                                                      =         0 บาท

ส่วนที่ 150,000 บาทแต่ไม่เกิน 300,000 ต้องเสียภาษี 5%   =  (291,000-150,000)   ×0.05           =  7,050 บาท

ดังนั้น  นางแมนต้องเสียภาษีเงินได้เป็นเงิน                                              =  7,050 บาท

การวางแผนภาษี เข้าใจวิธีคำนวณภาษีแบบขั้นบันได เรียนรู้รายละเอียดโครงสร้างการหักลดหย่อนภาษี เป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับบุคคลธรรมดาที่เจอภาษีแพง ซึ่งปัจจุบันนี้มีบริการที่ปรึกษาภาษีที่ช่วยให้การวางแผนภาษี คำนวณภาษีและจ่ายภาษีเป็นเรื่องง่ายขึ้น